(บทความในบล็อกนี้มีลิขสิทธิ์คุ้มครองตามกฏหมาย การคัดลอกส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดไปใช้ประโยชน์ต้องได้รับความยินยอมจากผู้เขียน)
ไม้ผลยืนต้น ผลเล็กๆ แต่อุดมไปด้วยคุณค่ามหัศจรรย์ ทั้ง ผล ใบ ต้น จนถึงราก ภูมิปัญญาชาวจีนรู้จักใช้ประโยชน์จากหม่อน หรือ มัลเบอรี่ ในฐานะสมุนไพรบำรุงสุขภาพมานับพันปี บอกเล่าสรรพคุณต่อเนื่องกันมารุ่นต่อรุ่นจนถึงปัจจุบัน เมื่อผนวกกับองค์ความรู้และวิยาการงานวิจัยสมัยใหม่ ยิ่งทำให้วงการสุขภาพตื่นตะลึงกับประโยชน์อันหลากหลายของหม่อน หรือ มัลเบอรี่ กันมากขึ้น
หม่อน
หรือ Mulberry
กับคุณค่ามหัศจรรย์
แต่เดิม
หม่อน
เป็นพืชที่ปลูกในเอเชียและอเมริกาเหนือเพื่อใช้ประโยชน์จากใบเป็นหลัก
ใบหม่อนเป็นอาหารประเภทเดียวที่หนอนไหมกิน
ด้วยรสสัมผัสอันหวานละมุนปนรสเปรี้ยวและประโยชน์ด้านสุขภาพอันมากมาย
ทำให้หม่อนกระจายสู่ความนิยมของผู้คนไปทั่วโลก
วงการแพทย์ของจีนใช้ประโยชน์จากหม่อนเป็นยารักษาโรคต่างๆมาหลายพันปี
ทั้งโรคหัวใจ เบาหวาน
โลหิตจางและโรคไขข้อ
ผลหม่อนกลายเป็นวัตถุดิบในอาหารของคนยุคปัจจุบันหลายอย่าง
ทั้งไวน์ ชา แยม หรือแม้กระทั่งตากแห้ง
แปรรูปเป็นของทานเล่นและลูกหม่อนบรรจุกระป๋อง
เท่าที่มีการสำรวจพบว่าหม่อนในโลกนี้มีอยู่ทั้งสิ้น24
สายพันธุ์
แต่ที่นิยมปลูกอย่างแพร่หลายมีอยู่3
สายพันธุ์คือผลสีดำ
แดง และขาว
ส่วนต่างๆของต้นหม่อน
ไม่จะเป็นกิ่ง ใบ ราก และผล
ภูมิปัญญาการแพทย์แผนจีนรู้จักนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ทั้งต้น
ข้อมูลทางโภชนาการของผลหม่อน
ผลหม่อนสด1ถ้วยตวงหรือประมาณ140กรัม
ให้พลังงานเพียง60แคลอรี่
จัดอยู่ในกลุ่มผลไม้ให้พลังงานต่ำ
มีน้ำเป็นส่วนประกอบ88%
มีคาร์โบไฮเดรต9.8%
ใยอาหาร1.7%
โปรตีน1.4%
ไขมัน0.4%
ผลหม่อนแห้งก็เป็นที่นิยมมาช้านานลักษณะเนื้อสัมผัสคล้ายลูกเกด
ผลหม่อนเมื่อถูกทำให้แห้ง
จะมีคาร์โบไฮเดรต70%
ใยอาหาร14%
โปรตีน12%
และไขมัน3%
จากข้อมูลโภชนาการดังกล่าว
ผลหม่อน
จัดว่าเป็นผลไม้ที่ให้โปรตีนสูงที่สุดเมื่อเทียบกับผลไม้ตระกูลเบอรี่ด้วยกัน
คาร์โบไฮเดรตในผลหม่อน
ผลหม่อนสด1ถ้วยตวงมีคาร์โบไฮเดรต9.8%
หรือ14กรัม
คาร์โบไฮเดรตส่วนใหญ่อยู่ในรูปของน้ำตาล
เช่นกลูโคสและฟรุคโตส
มีแป้งและใยอาหารเป็นส่วนประกอบรองลงมา
ใยอาหารในผลหม่อน
ผลหม่อนเป็นแหล่งใยอาหารชั้นดีคือ1.7%โดยน้ำหนักผลสด
ใยอาหารมีครบทั้ง2ชนิด
ในสัดส่วนที่เหมาะสม
คือชนิดละลายน้ำ25%อยู่ในรูปของเพคติน
และไม่ละลายน้ำ75%ในรูปของลิกนิน
ความสำคัญของใยอาหารคือช่วยให้ระบบทางเดินอาหารทำงานได้ครบสมบูรณ์ซึ่งทำให้โคเลสเตอรอลตัวร้ายลดลง
และลดความเสี่ยงของหลายๆโรค
วิตามินและแร่ธาตุในผลหม่อน
ผลหม่อนอุดมไปด้วยวิตามินซี
ธาตุเหล็ก
เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินและธาตุอื่นๆอีกหลากหลายดังต่อไปนี้
วิตามินซี
สารอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพผิวและช่วยให้การทำงานของอวัยวะต่างๆในร่างกายดำเนินไปอย่างถูกต้องสมบูรณ์
เหล็ก
แร่ธาตุสำคัญที่ช่วยการทำงานของระบบต่างๆในร่างกาย
โดยเฉพาะระบบการถ่ายเทอ็อกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆ
วิตามินเค1หรืออีกชื่อที่รู้จักกันคือฟิลโลควิโนน
(phylloquinone)
มีคุณสมบัติป้องกันเลือดจับตัวเป็นลิ่มและบำรุงกระดูกให้แข็งแรง
โปแตสเซียม
ซึ่งเชื่อกันว่าช่วยลดความดันโลหิตและลดอัตราเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
วิตามินอี
สารต้านอนุมูลอิสระอีกตัวที่ช่วยปกป้องเซลล์และลดการสึกหรอของเซลล์อันเกิดจากการคุกคามของอนุมูลอิสระ
พฤกษเคมีในผลหม่อน
จากสีม่วงแดงจนถึงดำคล้ำของผลหม่อนบอกเราได้ว่าผลหม่อนอุดมไปด้วยพฤกษเคมีที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายจำนวนมาก
คือแอนโธไซยานินส์ (Anthocyanins)
หนึ่งในยอดนักปกป้องเซลล์
กลุ่มต้านอนุมูลอิสระที่คอยยับยั้งการเกิดออกซิเดชั่นของ
LDL
โคเลสเตอรอล
ปฏิกิริยาเคมีที่ทำให้โมเลกุลของเซลล์มีการสูญเสียอิเล็กตรอนจนไขมันตัวนี้ออกเพ่นพ่านทำร้ายร่างกายเรา
แอนโธไซยานินส์ยังเป็นเกราะช่วยลดการเกิดโรคหัวใจด้วย
แอนโธไซยานินส์ที่มีอยู่ในผลหม่อน
ส่วนใหญ่เป็นไซยานิดิน
(Cyanidin)
สารหลักในกลุ่มแอนโธไซยานินส์
สารสำคัญอีกตัวที่มีอยู่ในผลหม่อนคือโคลโรเจนิค
แอซิด(Chlorogenic
acid)
สารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่มากในผลไม้และผักหลายชนิด
เป็นสารให้ความสุข สร้างสมาธิ
เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง
คุณสมบัติสำคัญของ Chlorogenic
acid คือ
ชะลอการหลั่งกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือด
ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ
ป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่
2
(Type-2 Diabetes, Glucose Management and Metabolic Syndrome)
โดยเข้าไปยับยั้งการผลิตน้ำตาลในเซลล์ตับ
ในผลหม่อนยังมี
รูทิน (Rutin)
สารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูงซึ่งเชื่อกันว่าอาจช่วยป้องกันและบรรเทาโรคเรื้อรังต่างๆ
เช่นมะเร็ง เบาหวาน และโรคหัวใจ
ไมริเซติน
(Myricetin)
สารสำคัญที่นักวิจัยเชื่อว่าอาจป้องกันมะเร็งบางประเภทได้
สายพันธุ์หม่อน
แม้ว่าจะอยู่ในสปีชี่เดียวกัน
แต่สารอาหารอาจแตกต่างกันไปตามสีของผลหม่อน
สียิ่งเข้มคือสัญญาณบอกว่าสารต้านอนุมูลอิสระยิ่งมีศักยภาพสูง
ผลหม่อนกับประโยชน์ต่อสุขภาพ
คุณสมบัติในสารต่างๆในผลหม่อนนับเป็นความหวังของมนุษยชาติในการบำบัดโรคเรื้อรังที่กำลังหาหนทางกันอยู่ในขณะนี้
โดยเฉพาะโรคเรื้อรังต่างๆ
เช่นโรคหัวใจ เบาหวาน และมะเร็ง
ผลหม่อนช่วยลดโคเลสเตอรอลตัวร้าย
โคเลสเตอรอลคือไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย
พบแทรกอยู่ในเซลล์ทุกเซลล์
อย่างไรก็ตาม
หากมีปริมาณมากเกินไปก็ก่อผลเสียต่อสุขภาพ
และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
ผลการทดลองในสัตว์พบว่าหม่อนสามารถลดปริมาณโคเลสเตอรอลในร่างกายได้
และยังอาจช่วยปรับสมดุลย์ระหว่างโคเลสเตอรอลตัวดี(HDL)
กับตัวร้าย
(LDL)
ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมด้วย
ผลการทดลองในหลอดทดลองยังแสดงให้เห็นว่าหม่อนช่วยลดการก่อตัวของไขมันในตับได้ด้วย
ซึ่งมีผลให้ตับแข็งแรง
ผลหม่อนช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ปัญหาของผู้ป่วยเบาหวานคืออ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงของน้ำตาลในกระแสเลือดและต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล
ในผลหม่อนมีสารตัวหนึ่งที่เรียกว่า
DNJ
(Deoxynojirimycin) ที่ช่วยยับยั้งเอ็นไซม์
ในลำใส้ตัวหนึ่งไม่ให้ย่อยแป้งและน้ำตาล
DNJ
จึงเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยเบาหวานเพราะช่วยให้น้ำตาลซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยหลังจากรับประทานอาหาร
ผลหม่อนช่วยลดความเสี่ยงมะเร็ง
ความเครียดเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ร่างกายเพิ่มกระบวนการออกซิเดชั่นที่ทำให้เซลล์และเนื้อเยื่อเสียหาย
นำไปสู่โอกาสในการเกิดมะเร็งสูงขึ้น
เป็นเวลานับพันปีแล้วที่ภูมิปัญญาแพทย์แผนจีนใช้หม่อนในการรักษาสุขภาพผล
การทดลองในสัตว์ของวิทยาการสมัยใหม่พบว่าสารต้านอนุมูลอิสระในหม่อนช่วยลดกระบวนการออกซิเดชั่นภายในเซลล์
อันมีสาเหตุมาจากความเครียดได้ดีซึ่งมีผลโดยตรงต่อการลดความเสี่ยงมะเร็งด้วย
ผลหม่อนอุดมไปด้วย
ฟิโนลิค ฟลาโวนอยด์ ไฟโตเคมิคอล
ที่สำคัญตัวหนึ่งซึ่งเรียกว่า
แอนโธไซยานินส์
มีผลการศึกษาทางวิชาการระบุว่าผลไม้ในกลุ่มเบอรี่มีผลดีต่อสุขภาพ
มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ช่วยชลอวัย
รักษาโรคเกี่ยวกับระบบประสาท
ลดการอักเสบ ลดเบาหวาน
และการติดเชื้อจากแบคทีเรีย
ผลหม่อนยังมีสารเรสเวอราทรอล
สารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่มโพลีฟีนอล
ฟลาโวนอยด์ สารเรสเวอราทรอล
ช่วยป้องกันและปกป้องโรคเกี่ยวกับเส้นเลือดสมอง
ป้องกันความเสื่อมระดับโมเลกุลในหลอดเลือด
ป้องกันหลอดเลือดเสื่อมจากฮอร์โมนแองกิโอแทนซิน
(Angiotensin-
ฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการหดเกร็งเส้นเลือดและทำให้ความดันเลือดสูงขึ้น)
โดยเรสเวอราทรอลจะช่วยให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนvasodilatorและไนตริคออกไซด์เพิ่มขึ้น
ซึ่งเป็นผลให้หลอดเลือดขยายตัวและความดันเลือดลดลง
ผลหม่อนยังอุดมไปด้วยวิตามินซี
ในผลหม่อน100กรัม
ให้วิตามินซีถึง36.4มิลลิกรัม
หรือ 61%ของที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
วิตามินซีจากธรรมชาตินับเป็นสารต้านอนุมูลฃอิสระที่ทรงพลังอีกตัวหนึ่ง
การรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินซีจะช่วยให้ร่างการสร้างกระบวนการต่อต้านเชื้อโรค
ลดการอักเสบและป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระได้ดีขึ้น
ผลหม่อนยังมีวิตามินเอ
วิตามินอี
ที่ช่วยเป็นแรงเสริมกระบวนการต้านอนุมูลอิสระให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น
การรับประทานผลหม่อนยังช่วยให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระในกลุ่ม
ฟลาโวนอยด์โพลี ฟีนอลิค เช่น
ลูทีน ซีแซนทีน เบต้า-แคโรทีน
และ อัลฟา-แคโรทีน
ซึ่งแม้จะมีอยู่เพียงเล็กน้อย
แต่ก็มากพออย่างมีนัยสำคัญที่จะทำให้กระบวนการต้านอนุมูลอิสระดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสารต้านอนุมูลอิสระกลุ่มนี้จะทำงานร่วมกันเพื่อป้องกันอันตรายจากออกซิเจนอนุภาคอิสสระ
ที่เม็ดเลือดขาวปลดปล่อยออกมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคและสาเหตุให้เซลล์เสื่อมสภาพ
การรับประทานผลหม่อนจึงเท่ากับเป็นการช่วยให้เซลล์เสื่อมช้าลงหรือเป็นการช่วยชลอวัยนั่นเอง
การรับประทานผลหม่อนจึงเท่ากับเป็นการช่วยให้เซลล์เสื่อมช้าลงหรือเป็นการช่วยชลอวัยนั่นเอง
ซีแซนทีน
ในผลหม่อนที่รับประทานเข้าไป
จะไปรวมกันที่ระบบจอรับภาพในดวงตา
ช่วยป้องกันจอรับภาพเสื่อมจากรังสีอัลตราไวโอเล็ต
โดยซีแซนทีน
จะทำหน้าที่เป็นตัวกรองรังสีเหล่านี้ไม่ให้เข้าถึงและทำลายเซลล์ภายในดวงตาได้
ผลหม่อนเป็นแหล่งรวมของ
ธาตุเหล็ก ผลหม่อนสด100กรัมให้ธาตุเหล็กถึง1.85
มิลลิกรัม
หรือ23%
ของที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
ธาตุเหล็กเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง
ซึ่งฮีโมโกลบินนี้คือตัวนำออกซิเจนไปเลี้ยงเซลล์ต่างๆในร่ายกาย
ผลหม่อนยังเป็นแหล่งรวมเกลือแร่ที่ประโยชน์ต่อร่างกายอีกหลากหลาย
ทั้งโปแตสเซียม แมงกานีสและแมกนีเซียม
โดยโปแตสเซียมจะช่วยควบคุมปรับจังหวะการเต้นของหัวใจให้เป็นปกติ
ควบคุมความดันเลือด
แมงกานีทำงานร่วมกับแร่ธาตุอื่นในการต้านอนุมูลอิสระโดยเฉพาะSuperoxide
Dismutase หรือ
SOD
สารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพในการบำรุงผิวพรรณ
ผลหม่อนเป็นแหล่ง
วิตามินบีรวม โดยเฉพาะวิตามินบี
6
และวิตามินเค
ไนอะซิน ไรโบฟลาวิน และกรดโฟลิค
วิตามินและแร่ธาตุในกลุ่มนี้ร่วมกันทำงานในกระบวนการเผาผลาญสารอาหารประเภท
คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น